ความเป็นมาของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ไม่อาจปฏิเสธถึงความเป็นมาของวิทยาเขตขอนแก่น ซึ่งเปิดดำเนินการหลักสูตรการเรียนการสอนช่างอุตสาหกรรม ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2507 ในนาม “วิทยาลัยเทคนิคไทย-เยอรมัน ขอนแก่น” สังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์ผู้สอนจากรัฐบาลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างปี พ.ศ. 2507-2518 ต่อมามีการเปิดสาขาวิชาระดับ ปวช.-ปวส. เพิ่มหลายสาขา ทางด้านช่างอุตสาหกรรมและบริหารธุรกิจ ในระหว่างที่มีความร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมัน รวมถึงอีกหลายปีถัดมา ได้มีครู-อาจารย์ จำนวนที่มีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อและฝึกอบรมในวิทยาลัยเทคนิคชั้นสูง รวมทั้งการฝึกประสบการณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศเยอรมัน โดยเฉพาะส่วนหนึ่งของโครงการความช่วยเหลือคือหลักสูตรฝึกอบรมหลักการสอนในรายวิชาชีพช่างเทคนิค ที่มีการสอดแทรกไว้ให้กับผู้รับการฝึกอบรม ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการจัดการศึกษา เพื่อการผลิตครูช่างในยุคต่อมาของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล รวมถึงคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่นในปัจจุบัน ซึ่งมีการดำเนินการมาอย่างเป็นลำดับ คือ
พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานนาม สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จากเดิมที่ดำเนินการในนามวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ในปีการศึกษา 2531 นี้ วิทยาเขตขอนแก่นได้นำหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิตของคณะวิศวกรรมเทคโนโลยี ซึ่งเดิมเปิดสอนอยู่ที่วิทยาเขตเทเวศร์ กรุงเทพมหานคร มาเปิดสอนเป็นรุ่นแรกที่ขอนแก่น โดยรับผู้จบ ปวส. เข้าศึกษาต่อ 2 ปี สาขาวิชา ๆละ 10 คน คือ – ค.อ.บ. อุตสาหการ-เชื่อมประกอบ